หลายคนสงสัยการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ การตัดสินใจที่สำคัญอีกประการนอกจากการคุ้มค่าเเละคุ้มทุนเเล้ว ก็คือประเภทของอินเวอร์เตอร์ที่จะใช้เพื่อแปลงพลังงานกระแสตรง (DC) ที่แผงโซล่าเซลล์ผลิตเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) โดย อินเวอร์เตอร์ 3 แบบที่เป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ สตริงอินเวอร์เตอร์ (String Inverter) ไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Inverter) และ พาวเวอร์ออฟติไมเซอร์ (Power Optimizer) – โดยทั้งหมดมีการทำงานที่แตกต่างกันเล็กน้อยและมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป
สตริงอินเวอร์เตอร์ (String Inverter)
สตริงอินเวอร์เตอร์เป็นรูปแบบของอินเวอร์เตอร์ที่เป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งการติดตั้งโดยใช้สตริงอินเวอร์เตอร์นี้ แผงโซลาร์เซลล์จะต่อสายเข้าด้วยกันแบบอนุกรมเป็น “สตริง” และพลังงานทั้งหมดที่ผลิตได้จะถูกส่งไปยังอินเวอร์เตอร์เครื่องเดียวซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะอยู่ในห้องใต้ดิน โรงรถ หรือผนังข้างบ้าน
ข้อดี:
บำรุงรักษาง่ายไม่ต้องปีนขึ้นไปบนหลังคา
ราคาถูก
ข้อเสีย:
พลังงานที่ได้จากแผงโซล่าเซลล์ในหนึ่งสตริงจะถูกจำกัดโดยแผงที่ผลิตไฟฟ้าได้น้อยที่สุดในตริงเท่านั้น
ไม่รองรับมาตรฐานการหยุดทำงานในกรณีฉุกเฉิน หรือ Rapid Shutdown
ไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Inverter)
ไมโครอินเวอร์เตอร์ถูกออกแบบใช้งานในลักษณะตรงกันข้ามกับสตริงอินเวอร์เตอร์ ระบบโซล่าเซลล์ที่มีไมโครอินเวอร์เตอร์จะมีอินเวอร์เตอร์ขนาดเล็กมากติดอยู่ที่ด้านหลังของแผงโซลาร์เซลล์แต่ละแผง ในขณะที่สตริงอินเวอร์เตอร์ส่งพลังงานจากทุกแผงไปยังอินเวอร์เตอร์เดียว ระบบที่ใช้ไมโครอินเวอร์เตอร์จะแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ DC เป็นพลังงาน AC ทันทีตั้งแต่บนหลังคาของอาคารและเชื่อมต่อไฟ AC เข้ากับกับไมโครอินเวอร์เตอร์ตัวอื่นๆ ในแบบขนาน
ข้อดี:
หากแผงใดมีประสิทธิภาพต่ำลงจะไม่ได้ทำให้ความสามารถในการผลิตของระบบโซล่าเซลล์ทั้งหมดลดลง
ตรวจสอบได้ง่ายเมื่อแผงแต่ละแผงมีข้อบกพร่องและจำเป็นต้องบำรุงรักษาหรือเปลี่ยนใหม่
รองรับมาตรฐานการหยุดทำงานในกรณีฉุกเฉิน หรือ Rapid Shutdown
ข้อเสีย:
ราคาแพงกว่าสตริงอินเวอร์เตอร์
โอกาสที่จะเจออินแวอร์เตอร์ชำรุดมีมากขึ้น และการเข้าบำรุงรักษาไมโครอินเวอร์เตอร์นั้นซับซ้อนเนื่องจากตั้งอยู่บนหลังคา
พาวเวอร์ออฟติไมเซอร์ (Power Optimizer)
Power Optimizer เป็นการรวมคุณสมบัติหลายประการของทั้งสตริงอินเวอร์เตอร์และไมโครอินเวอร์เตอร์เข้าด้วยกัน ส่วนที่เหมือนกับไมโครอินเวอร์เตอร์คือ Power Optimizer จะถูกติดตั้งที่ด้านหลังของแผงโซล่าเซลล์แต่ละแผง อย่างไรก็ตาม ระบบโซล่าเซลล์ที่มี Power Optimizer จะยังคงส่งพลังงานไฟฟ้าแบบ DC ที่ถูก “ปรับปรุง” แล้วไปยังอินเวอร์เตอร์เพียงตัวเดียวเช่นเดียวกันกับในระบบสตริงอินเวอร์เตอร์
ข้อดี:
ความสามารถในการทำงานคล้ายคลึงกับระบบไมโครอินเวอร์เตอร์ แต่โดยทั่วไปจะมีราคาที่ต่ำกว่า
รองรับมาตรฐานการหยุดทำงานในกรณีฉุกเฉิน หรือ Rapid Shutdown
ข้อเสีย:
เช่นเดียวกับไมโครอินเวอร์เตอร์ ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและซ่อมแซมโดยทั่วไปจะสูงเนื่องจากมีอุปกรณ์ Power Optimizer ติดตั้งอยู่บนหลังคาด้วย
หาก inverter เสียหายตัวเดียวระบบทั้งหมดก็จะต้องหยุดทำงานไปด้วย
ข้อทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ PowerConneX Solar เชิงพาณิชย์ ติดต่อได้ที่ LINE Official @powerconnexsolar หรือโทร 083 008 6560
FB>> https://www.facebook.com/Powerconnexsolar
Comments